บริการ VPN

บริการ VPN แบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ

  1. Remote access VPN : เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN จากอุปกรณ์เคลื่อนที่ต่างๆ ซึ่งสามารถข้าถึงเครือข่ายได้ โดยเป็นการเข้าถึงจากไคลเอ็นต์ใดๆ ก็ได้ โดยอาศัย ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เป็นตัวกลาง ในการติดต่อ ซึ่งจะมีการเข้ารหัสในการ ส่งสัญญาณจากเครื่องไคลเอ็นต์ไปยัง VPN Server หรือสรุปคือ ต้องมี VPN Server 1 ตัว และเครื่อง Client ที่ต้องการติดต่อต้องมีการติดตั้ง VPN Client ไว้ที่อุปกรณ์ รูปแบบนี้จะเหมาะกับ ลักษณะการทำงานแบบ Mobile User เช่น พนักงานฝ่ายขายหรือวิศวกรที่เดินทางไปต่างจังหวัดบ่อยๆ
  2. Site-to-site VPNs หรือ Intranet VPN : เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย VPN ที่ใช้เฉพาะภายในองค์กรเท่านั้น อาทิ การต่อเชื่อมเครือข่าย ระหว่างสำนักงานใหญ่ในกรุงเทพฯ และสาขาย่อยในต่างจังหวัดเสมือนกับ การทดแทน การเช่าวงจรลีส'ไลน์ ระหว่าง กรุงเทพกับต่างจังหวัด โดยที่แต่ละสาขาสามารถ ต่อเชื่อมเข้ากับ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ในท้องถิ่นของตน เพื่อเชื่อมเข้าโครงข่าย VPN ขององค์กรอีกทีหนึ่ง หรือสรุปก็คือ ต้องให้ Router หรืออุปกรณ์ 2 ฝั่ง ทำ VPN แบบ Sic-to-sic ถึงกัน โดย เครื่องของ Clien ไม่ต้องทำอะไร ปัจจุบันเป็นที่นิยมมาก ยกตัวอย่าง มีบริษัทที่มี ADSL ในพื้นที่เช่น เชียงใหม่กับ กรุงเทพฯ และ ADSL Router เป็นรุ่นที่มีฟังก็ชัน VPNSite-to-site ทำให้ทั้ง 2 สาขาใช้งานภายในได้แบบประหขัดค่ใช้ง่ายมากๆ ไม่ว่าจะเป็น Data. Yoice หรือ video เป็นต้น
  3. Extranet VPN : เป็นรูปแบบในการเข้าถึงเครือข่าย ที่คล้ายกับ Intranet VPN แต่มีการขยายวงออกไป ขังกลุ่มลูกค้า ซัพพลายเออร์ และพาร์ตเนอร์ เพื่อให้ใช้เครือข่ายได้ จุดสำคัญอย่างหนึ่ง ในการเลือกติดตั้ง VPN คือการเลือก ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่วางระบบรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี มีส่วนอย่างมาก ในการส่งข้อมูลบน VPN ให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพราะถ้า ไอเอสพี มีระบบรักษาความปลอดภัย ที่รัดกุม ก็จะช่วยให้ ช้อมูลที่ส่งมา มีความปลอดภัยมากขึ้น Extranct VPN อาจจะเปีดให้ใช้งานได้แค่บางเมนูเท่านั้น ต้องเน้นเรื่องของความเป็นส่วนตัว